บทที่ 6 การจัดหาเงินทุนของธุรกิจระหว่างประเทศ


แหล่งที่มาของเงินทุนจากต่างประเทศ

1. แหล่งทางการ (Official Sources) ? แหล่งเงินทุนจากรัฐบาล ซึ่งมีลักษณะผ่อนปรน หรือเงื่อนไขที่ดีกว่าเงินทุนจากแหล่งอื่น ๆ อาจอยู่ในรูปของเงินให้เปล่า (Grant) หรือเงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ หรือไม่มีดอกเบี้ย มีระยะเวลาชำระคืนนาน “Soft Loan”

สถาบันที่ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศต่าง ๆ มี 2 ประเภทคือ

1. สถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาของรัฐบาล

2. องค์การระหว่างประเทศ

2. แหล่งเอกชน (Commercial Sources) ? เป็นแหล่งเงินทุนจากภาคเอกชนในต่างประเทศ เช่น ธนาคารพาณิชย์, บริษัทประกัน สถาบันการเงินเอกชนอื่น ๆ ซึ่งให้กู้ยืมเงินในรูปของเงินกู้ (Loan) และตราสาร (Securities)

3. แหล่งผสมระหว่างแหล่งทางการ & แหล่งเอกชน ? เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาค

  • เอกชนในการให้เงินทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการส่งออกของประเทศ ผู้ให้กู้โดยให้สินเชื่อแก่ผู้ซื้อสินค้าในประเทศของตนเพื่อกระตุ้นให้มีการสั่งซื้อจากต่างประเทศมากขึ้น

    วิธีการจัดหาเงินทุนจากต่างประเทศ

  • 1. เงินกู้ (Loan) ? เงินที่ฝ่ายหนึ่งให้กู้ยืมแก่อีกฝ่ายหนึ่งโดยมีกำหนดระยะเวลาชำระคืนที่

  • แน่นอน และมีอัตราดอกเบี้ยกำหนดไว้เป็นค่าตอบแทนของการให้กู้ยืม
  • การกู้ยืมเงินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ จะมีสกุลเงินที่แตกต่างกันเข้ามาเกี่ยวข้อง และอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันออกไป ผู้กู้ และผู้ให้กู้จะอยู่คนละประเทศ

    ? ประเภทของเงินกู้จากต่างประเทศ

    แบ่งตามระยะเวลา ได้แก่

  • 1. เงินกู้ระยะสั้น (Short-Term Credits) ? เป็นเงินกู้ อายุไม่เกิน 1 ปี มีวัตถุประสงค์ทางการค้าหรือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ ซึ่งสามารถเบิกจากธนาคารได้ ในลักษณะเดียวกับวงเงินเกินบัญชี (Overdraft)

    2. เงินกู้ระยะปานกลาง & ระยะยาว (Medium Term and Long Term Loans) ? เงินกู้ส่วนใหญ่จะมีอายุระหว่าง 3-5 ปี เพราะธนาคารผู้ให้กู้สามารถที่จะยอมรับความเสี่ยงของกิจการของผู้กู้หรือความเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง ถ้าหากเป็นเงินกู้ระยะยาวก็จะคิดอัตราดอกเบี้ยที่สูงมากขึ้นเพื่อให้คุ้มกับความเสี่ยง

  • : แบ่งตามประเภทผู้ให้กู้ ได้แก่
    1. Single Bank Loan ? เงินกู้ที่มีผู้ให้กู้เพียงรายเดียวโดยมีวงเงินกู้ไม่สูงนัก ซึ่งการให้กู้จะมี
    2. ขั้นตอนที่สะดวกและรวดเร็วเนื่องจากการพิจารณาอนุมัติเพียงรายเดียว
    3. Club Loan ? กรณีที่วงเงินกู้มีจำนวนสูงเกินกว่าธนาคารแห่งใดแห่งหนึ่งจะให้กู้ได้เพียง
    4. รายเดียว หรือมีนโยบายในการรับความเสี่ยงของลูกค้าไม่เกินเพดานที่กำหนด จึงชักชวนให้ธนาคารอื่นมาร่วมแบ่งเบาภาระความเสี่ยงโดยธนาคารผู้ให้กู้ร่วมทุกรายมีฐานะเท่าเทียมกัน วงเงินกู้จะมีขนาดปานกลาง ผู้กู้ และ ผู้ให้กู้ มีความสัมพันธ์กันจึงสามารถประสานงานกันไปโดยไม่ต้องแต่งตั้งผู้ประสานงาน
    5. Syndicated Loan ? เป็นวงเงินกู้ที่มีผู้ร่วมให้กู้หลายราย ในกรณีนี้ผู้กู้จะแต่งตั้งสถาบัน
  • การเงินแห่งหนึ่งทำหน้าที่เป็นผู้นำในการจัดการเงินกู้ “Lead Manager และสถาบันนี้จะทำหน้าที่ในการจัดหาผู้ร่วมให้กู้รายอื่นและเป็นผู้ประสานงานในการกู้เงิน รวมทั้งเป็นตัวแทนของผู้ให้กู้ “Agent” ในการดูแลให้คู่สัญญาปฏิบัติตามสัญญาเงินกู้

    ? ลักษณะทั่วไปของเงินกู้ต่างประเทศ

  • 1. วงเงิน (Amount)

    2. อายุเงินกู้ (Maturity)

    3. ระยะปลอดหนี้ (Gracc Period)

    4. อัตราดอกเบี้ย (Interest Rates) ? จะแตกต่างไปตามสกุลเงินที่กู้และระยะเวลาของเงินกู้ มี 2 ประเภทคือ

    4.1 อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) ? อัตราดอกเบี้ยที่มีการปรับเมื่อครบกำหนด

  • งวดดอกเบี้ยแต่ละงวด
  • 4.2 อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Interest Rate) ? อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดคงที่ตายตัว

    ตลอดอายุเงินกู้ การกู้ในลักษณะนี้จะมีผลดี คือ ผู้กู้ไม่ต้องรับภาระความเสี่ยงในด้านความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในอนาคต แต่ผลเสีย คือ หากการกู้ยืมในช่วงอัตราดอกเบี้ยสูง ผู้กู้ ก็จะเสียเปรียบเมื่ออัตราดอกเบี้ยลดต่ำลงในอนาคต

    5. สกุลเงิน (Currency)

    6. การชำระคืนเงินต้น (Principle Repayment)

    7. การชำระคืนเงินต้นล่วงหน้า (Prepayment)

    8. การชำระดอกเบี้ย (Interest Payment) ? วิธีการคำนวณดอกเบี้ยจะมีผลต่อต้นทุนเงินกู้ เช่น เงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยเท่ากัน แต่รายหนึ่งชำระดอกเบี้ยปีละครั้ง ส่วนอีกรายหนึ่งชำระดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ต้นทุนของรายหลังจะแพงกว่ารายแรก โดยวิธีการคำนวณ

    1. E =

      E = อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง

      R = อัตราดอกเบี้ยต่อปี

      N = จำนวนครั้งที่จ่ายดอกเบี้ยต่อปี

      9. ค่าธรรมเนียมในการกู้เงิน (Fees)

    ค่าธรรมเนียมจัดการเงินกู้ ? คิดเป็น % ของวงเงินกู้

    ค่าธรรมเนียมผูกพันหนี้ (Commitment Fee) ? เป็นค่าธรรมเนียมต่อปีที่คิดจากยอดเงินกู้

    1. ที่ยังไม่เบิก หากเบิกเงินกู้ครบจำนวนแล้วจะไม่เสียค่าธรรมเนียมนี้
    2. ค่าธรรมเนียมตัวแทน (Agency Fee) ? เป็นค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับเงินกู้
    3. แบบ Syndicated Loan ที่ต้องมีตัวแทนผู้ให้กู้ทำหน้าที่ประสานงาน
    4. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (Out-of-Pocket Expense) ? ค่าใช้จ่ายของผู้ให้กู้ที่เกิดจาก
  • การจัดการเงินกู้ เช่น ค่าใช้จ่ายในการทำสัญญา
  • 10. หลักประกันเงินกู้ (Security)

     

  • 2. ตราสาร (Securities) ? คือเอกสารที่ผู้ออก (Issuer) ออกให้กับผู้ถือ (Holder) เพื่อเป็นหลักฐานแสดงสิทธิของผู้ถือตามที่ระบุในเอกสารนั้น
  • ? ประเภทของตราสาร

    1. ตราสารหนี้ (Debt Securities) ? เป็นตราสารที่ผู้กู้ยืม (Borrower) คือ ผู้ออกตราสารเพื่อวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงิน ผู้ซื้อตราสารหรือผู้ลงทุนในตราสาร (Investor) จะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้ออกตราสารนั้น ตราสารหนี้ที่นิยมออกจำหน่ายในตลาดทุนระหว่างประเทศ ได้แก่ ตราสารพาณิชย์ (Commercial Paper), หุ้นกู้ (Bond)

    2. ตราสารทุน (Equity Securities) ? เป็นตราสารที่แสดงสิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการ

    3. ตราสารกึ่งทุน (Equity-linked Securities) ? เป็นตราสารที่มีความเกี่ยวพันกับทุน เช่น หุ้นกู้ที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ (Convertible Bond), หุ้นที่ให้สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ (Bonds with Warrants)

    ? การจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินของตราสาร

    1. ความเสี่ยงของธุรกิจนั้น ๆ (Business Risk)

    2. ความเสี่ยงของอุตสาหกรรมโดยรวม (Industry Risk)

    3. ขนาดของกิจการ (Size of Business)

    4. การจัดการ (Management)

    5. ฐานะทางการเงินของกิจการ

    1. ช่วยนักลงทุนในการประเมินคุณภาพของตราสารที่ออกจำหน่ายซึ่งจะสะดวก, ประหยัดทั้ง

    2. เวลาและค่าใช้จ่ายจากการที่นักลงทุนต้องทำหน้าที่ประเมินเอง

    3. ใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคาหรืออัตราผลตอบแทนของตราสารที่ออกจำหน่าย

    4. ช่วยให้บริษัทผู้ออกตราสารดำเนินกิจการและนโยบายด้วยความรอบคอบและระมัดระวังเพื่อพยายามรักษาระดับของตราสารไม่ให้ตกต่ำลงไป

    3. ทุน (Equities) ? เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นซึ่งเข้าร่วมลงทุนในหุ้นของกิจการและจะร่วมรับ

    ความเสี่ยงของกิจการด้วย

    ? การจัดหาเงินทุนในรูปของหุ้นทุน มี 2 ลักษณะ คือ

    1. ป็นการร่วมลงทุนเพื่อวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจ โดยจะเข้ามามีบทบาทในด้านการบริหาร,
    2. การดำเนินธุรกิจของกิจการและการตลาด เป็นการลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลและส่วนเกินทุน (Capital Gains)

    ? รูปแบบ การลงทุนของธุรกิจระหว่างประเทศในรูปของทุน

    1. Joint Ventures ? เป็นการร่วมลงทุนในกิจการระหว่าง 2 ฝ่ายขึ้นไปโดยมีข้อตกลงระบุเงื่อนไข
    2. ต่าง ๆ ของการร่วมลงทุน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ คือ

    2. การออกจำหน่ายตราสารทุน และตราสารกึ่งทุนในตลาดต่างประเทศ ซึ่งตราสารที่นิยม

    ออกจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ ได้แก่

    ในต่างประเทศ โดยนำหุ้นเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหุ้นสำคัญ ๆ ของโลก

    หุ้นกู้ที่ให้สิทธิซื้อหุ้นสามัญออกใหม่ (Bonds with Warrants) ? เป็นตราสารกึ่งทุนเพราะเป็นหุ้นกู้ที่ออกพร้อมกับตราสารที่ให้สิทธิผู้ถือซื้อหุ้นสามัญออกใหม่ในราคากำหนด (Warrants)