ระบบปริวรรตเงินตราระหว่างประเทศ (International Monetary System)

 

มาตรฐานเงินตรา ( The Monetary Standard)

 

 

 

 

1. กำหนดความสัมพันธ์เชิงปริมาณระหว่างหน่วยเงินของประเทศนั้นกับสินค้าขนิดนั้นๆ

 

2. พร้อมที่จะรับซื้อสินค้าชนิดนั้นทั้งหมดเมื่อมีการเสนอขายในราคาที่กำหนดให้

 

3. พร้อมที่จะขายสินค้าชนิดนั้นทั้งหมดเมื่อมีผู้ต้องการซื้อในราคาที่กำหนดให้

 

มาตรฐานโลหะคู่ (Bimetallic Standard)

 

  • พรบ. เหรียญกษาปณ์ (The Coinage Act) ค.ศ. 1792 ของสหรัฐอเมริกา :

    US$1 = ทองคำบริสุทธิ์ 24.75 เกรนส์

    US$1 = เงินบริสุทธิ์ 371.25 เกรนส์

  • มาตรฐานทองคำ (ค.ศ. 1875-1914)

     

     

  • มาตรฐานทองคำแท่ง ( Gold Bullion Standard) : ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบจะเป็นเงินกระดาษ ทองคำทำหน้าที่เป็นเพียงสินทรัพย์สำรองหนุนหลัง
  •  

     

     

     

     

    ช่วงสงครามโลก ( ค.ศ. 1918-1939)

     

    ความต้องการใช้เงินจำนวนมหาศาลระหว่างสงคราม >> การสร้างเงิน >> ความแตกต่างในอัตราเงินเฟ้อระหว่างประเทศมีมากขึ้น >> ความแตกต่างมากขึ้นในความสัมพันธ์ของระดับราคาสินค้าระหว่างประเทศ >> การลดค่าเงิน

     

  • -ช่วงต้นทศวรรษ 1930 หลายประเทศเริ่มควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เพื่อรักษาระดับเงินตราต่างประเทศซึ่งเป็นเงินสำรอง โดยการควบคุมการนำเข้าและส่งออกเงินตราต่างประเทศ การใช้มาตรการปันส่วนเงินตราต่างประเทศ การห้ามเคลื่อนย้ายเงินทุนออกนอกประเทศ การบังคับให้นำเงินตราต่างประเทศจากการส่งออกสินค้าและธุรกรรมทางการเงินมาขายให้กับทางการ
  • มาตราปริวรรตทองคำ (Gold Exchange Standard) ค.ศ. 1944-1970

     

     

     

     

     

     

     

     

    สิทธิถอนเงินพิเศษ หรือ SDRs เป็นสินทรัพย์ที่ IMF ออกมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนสภาพคล่องในปี ค.ศ. 1970 โดยให้ใช้ SDRs เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศได้ ตามข้อตกลงเริ่มแรกกำหนดให้ SDRs 1 หน่วย มีค่าเท่ากับทองคำหนัก 0.88867 กรัม หรือเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ IMF จัดสรร SDRs ให้กับประเทศต่างๆ ตามสัดส่วนโควตา หลังจากนั้นการแลกเปลี่ยน SDRs สามารถทำได้ระหว่างธนาคารกลางของแต่ละประเทศหรือกับ IMF เอง

    ปัจจุบัน SDRs คำนวณขึ้นจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของค่าเงินของประเทศสมาชิก 5 ประเทศ ที่มีมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการสูงที่สุด คือ สหรัฐอเมริกา 43% เยอรมนี 19% ญี่ปุ่น 15% อังกฤษ 13% ฝรั่งเศส 10% มูลค่าของ SDRs จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะๆ ตามสัดส่วนของมูลค่าการส่งออกของประเทศทั้งห้า นอกจากนี้ IMF ยังกำหนดให้มีการคำนวณดอกเบี้ยสำหรับ SDRs โดยวิธีการถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของเงินตรา 5 สกุลที่ใช้คำนวณ SDRs

    ในปี ค.ศ. 1978 ประเทศสมาชิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ทำการตกลงเพื่อปรับระบบการทำงานของกองทุนฯ โดยกำหนดให้ SDRs เป็นเงินตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ และลดบทบาทของทองคำโดยยกเลิกค่าแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการ และยกเลิกการโอนทองคำระหว่างประเทศสมาชิก

     

    สถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะตั้งแต่ทศวรรษ 1960 เป็นต้นไป จากการที่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกและประเทศญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และกลายเป็นคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังมีสงครามเวียดนามซึ่งทำให้สหรัฐฯ มีค่าใช้จ่ายเป็นเงินจำนวนมหาศาล

    นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1968 ปัญหาการขาดดุลการชำระเงินของสหรัฐฯทวีความรุนแรงมากขึ้น เงินสำรองระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ลดลงจาก $24 พันล้าน เหลือเพียง $11 พันล้าน ( ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958 - 1970) นอกจากนี้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ไหลออกนอกประเทศเป็นจำนวนสูงมากถึงกว่า $40 พันล้าน เนื่องจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ในฐานะของเงินสำรองระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกาจึงรู้สึกว่าไม่สามารถลดค่าเงินดอลลาร์ลงได้ นโยบายที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาคือ การกระตุ้นการส่งออก ลดกำลังทหารและรายจ่ายอื่นของรัฐบาลในต่างประเทศลง เก็บภาษีสำหรับการซื้อหลักทรัพย์ในต่างประเทศ (ค.ศ. 1963) ภาษีเงินกู้ธนาคารระยะยาวของชาวต่างชาติ (ค.ศ. 1963) และการควบคุมการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา รวมทั้งแทรกแซงตลาดล่วงหน้าและตลาดปัจจุบันด้วยการขาย Roosa Bonds

    สาเหตุที่ทำให้ระบบ Bretton Woods สิ้นสุดลง คือ การขาดดุลการชำระเงินอย่างมากและต่อเนื่องของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผลให้ความน่าเชื่อถือในเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง ปัจจัยทุนไหลออกนอกประเทศสหรัฐฯ มากขึ้นเมื่อธนาคารกลางในยุโรปบางธนาคารพยายามนำดอลลาร์ที่สำรองไว้บางส่วนมาแลกเป็นทองคำที่ธนาคารกลางของสหรัฐฯ สหรัฐฯจึงต้องสั่งพักการแลกเปลี่ยนไว้ เมื่อ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1901 และประกาศใช้มาตรการเก็บภาษีนำเข้า 10% เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียทองคำทั้งหมดที่สำรองไว้ ผลจากการขาดดุลการชำระเงินซึ่งสหรัฐไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ทำให้สภาพคล่องทางการเงินของประเทศสหรัฐฯ ลดลง ประกอบกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่เป็นที่ต้องการถือครองไว้สำหรับชาวต่างชาติซึ่งเกิดจากความเชื่อมั่นในดอลลาร์ได้สูญเสียไป ระบบ Bretton Woods จึงได้สิ้นสุดลง

    ข้อตกลงสมิทโซเนียน (Smithsonian Agreement)

    ความพยายามในการแก้ปัญหาวิกฤตในครั้งนั้นภายใต้ข้อตกลงสมิทโซเนียน เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1971 กำหนดให้

     

     

     

     

    การตัดสินใจใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (ค.ศ. 1973)

    อย่างไรก็ตามการขาดดุลการชำระเงินของสหรัฐฯ ก็ยังไม่สามารถแก้ไขได้ ในปีต่อมาได้เกิดแรงกดดันจนเกิดการเปลี่ยนแปลงค่าเงินดอลลาร์อีกครั้งหนึ่งเป็น $42.22 ต่อทองคำหนึ่งทรอยเอานซ์ หรือลดลง 10% ความรุนแรงของการเก็งกำไรมีอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1973 อัตราแลกเปลี่ยนจึงลอยตัวเสรี ยกเว้นเมื่อมีการแทรกแซงโดยทางการ และยังคงใช้ระบบนี้มาจนถึงปัจจุบัน

    ระบบอัตราแลกเปลี่ยนหลัง ค.ศ. 1973

    นับตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 1973 ประเทศพัฒนาแล้วทั้งหมด และประเทศกำลังพัฒนาประเทศใหญ่ๆ หลายประเทศ ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ภายใต้ข้อตกลงจาไมก้า (Jamaica Accords) ข้อตกลงในเดือนมกราคม ค.ศ. 1978 ซึ่งให้สัตยาบันในเดือนเมษายน ค.ศ. 1978 รับรองให้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวเป็นระบบทางการ อันนำไปสู่การยกเลิกระบบมาตรฐานทองคำโดยสิ้นเชิง และเปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ เลือกระบบอัตราแลกเปลี่ยนเอง

    ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1985 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม G-5 ( สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี อังกฤษ แคนาดา และฝรั่งเศส ) ได้ร่วมประชุมหารือกันที่ Plaza Hotel นิวยอร์ค และออกประกาศของข้อตกลงพลาซา (Plaza Agreement) กดดันให้เงินสกุลหลักๆ มีค่าแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนลงเรื่อยมาจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1987 ได้ประชุมหารือและบรรลุข้อตกลงร่วมกันที่เรียกว่าข้อตกลงลูฟ ( Louvre Accords ) โดยจะพยายามรักษาค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และรักษาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้มีเสถียรภาพ ณ ระดับที่เป็นอยู่ในขณะนั้น

     

     

  • ก่อนประกาศค่าเสมอภาค (พ.ศ. 2492-2506)

    ประกาศค่าเสมอภาค (พ.ศ. 2506-2521)

  •  

     

     

     

     

    การจัดระบบปริวรรตเงินตราระหว่างประเทศในปัจจุบัน กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้แบ่งเป็นระบบหลัก ดังนี้

     

     

    จึงเห็นได้ว่าแม้จะมีการประกาศให้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวเป็นระบบทางการ แต่ปัจจุบันประเทศต่างๆ สามารถเลือกใช้ระบบประวรรตเงินตราระหว่างประเทศที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของระบบและฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ประกอบด้วย อัตราการว่างงาน อัตราดอกเบี้ย ดุลการค้า อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อภายในประเทศ และระดับการพัฒนาของตลาดเงินภายในประเทศ

    _____________________________